• ในการทำเงินเดือนสำหรับพนักงานที่ไม่อยู่ในสถานะลูกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้ว สามารถเลือกการจ่ายเงินชดเชยได้


  • วิธีการคือให้ไปสร้างรายละเอียดเงินเดือนตามปกติและคลิกที่รายชื่อพนักงานที่ต้องการแก้ไข


  • ในแถบที่เกี่ยวข้อง ให้เลือกหัวข้อการจ่ายเงินชดเชยและคลิก


  • เงินชดเชยถูกตั้งค่าเริ่มต้น ไล่ออก = 0 ไว้ ดังนั้นหากต้องการแก้ไขการตั้งค่าให้คลิกที่ปากกา 


  • วิธีการคำนวณภาษีเงินชดเชยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าพนักงานถูกไล่ออกหรือไม่ 


  • ตัวอย่าง: 


ในกรณีที่ไม่ได้ถูกไล่ออก ระบบจะนำเงินชดเชยมารวมกับเงินได้ที่เสียภาษีตัวอื่น และคำนวณภาษีตามวิธีปกติ


ในกรณีที่ถูกไล่ออก ระบบจะนำเงินชดเชดหักด้วยเงินเดือน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท แล้วคำนวณภาษี




  • When processing payroll for an employee who is not active anymore or who has a contract that's ended, you have the option to add a severance payment.


  • To do this, generate the payroll as usual and click on the employee row to edit.


  • In the related tab, select severance payment and click add.


  • By default, the payment is set to termination = No. If you need to change edit this setting, click the pen icon. 


  • Severance pay calculations are different based on if the employee was terminated or not. 


  • Example below: 


In case of Termination = No, System will include Severance Pay with Other Taxable Income and calculate tax as normal


In case of Termination = Yes, System will deduct Severance pay with last 300 days but not more than 300,000 Baht and calculate tax as normal.






ตัวอย่าง

พนักงานถูกเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง(ไล่ออก) 350,000 บาท พนักงานได้รับอัตราเงินเดือน 20,000 บาท


เงินชดเชยการเลิกจ้าง --> Severance Pay --> Termination = Yes

*** กรณีได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างเนื่องจากถูกไล่ออก เงินชดเชยที่ได้จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเสียภาษี = อัตราเงินเดือนสุดท้าย 300 วัน แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ***


เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี = (20,000 / 30 * 300) = 200,000 บาท 


เงินได้ที่นำมารวมคำนวณเสียภาษี 

= เงินเดือน + (เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง(ไล่ออก) - เงินได้ที่ได้รับยกเว้น) 

= 20,000 + (350,000 - 200,000) 

= 170,000 บาท 



ตัวอย่าง

พนักงานถูกเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง(เกษียณอายุ) 500,000 บาท พนักงานได้รับอัตราเงินเดือน 20,000 บาท


เงินชดเชยการเลิกจ้าง --> Severance Pay --> Termination = No


*** กรณีได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอาจุ/สิ้นสุดสัญญาจ้าง เงินชดเชยที่ได้จะได้รับจะนำมารวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีตามปกติ


เงินได้ที่นำมารวมคำนวณเสียภาษี 

= เงินเดือน + เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง(เกษียณอายุ)

= 20,000 + 500,000 

= 520,000 บาท