การตั้งค่ากฏการจ่ายเงินสวัสดิการสามารถทำได้ดังนี้


1) ไปที่ การตั้งค่า (Preferences)


2) ไปที่ กฏการจ่ายเงินสวัสดิการ (Allowance Rule)


3) คลิกที่ เพิ่ม (Add)



 

4) เลือก บริษัท (Company), สาขา (Branch), แผนก (Department), ตำแหน่ง (Position)


กรณีที่มีการตั้งค่าเงินเดือนที่บริษัท (Company Payroll Setting) สามารถเลือกสาขาได้หลายสาขาเพื่อตั้งกฏการจ่ายเงินสวัสดิการพร้อมกันได้


กรณีที่มีการตั้งค่าเงินเเดือนที่สาขา (Branch Payroll Setting) ไม่สามารถเลือกสาขาได้หลายสาขาเพื่อตั้งกฏการจ่ายเงินสวัสดิการ จะเลือกได้สาขาเดียวเท่านั้น


5) เลือก เงินได้ (Payment) สำหรับการจ่ายเงินสวัสดิการ


6) เลือก ะยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period)


6.1) กรณีที่ งวดการจ่ายเงิน (Payment Schedule) เป็น เดือนละครั้ง (Once a Month) สามารถเลือกระยะเวลาการคำนวณในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการได้ 2 แบบคือ


  • ต่อวัน (Per Day) 
  • ต่อเดือน (Per Month)


6.2) กรณีที่ งวดการจ่ายเงิน (Payment Schedule) เป็น เดือนละสองครั้ง (Twice a Month) หรือ รายสัปดาห์ (Weekly) สามารถเลือกระยะเวลาการคำนวณในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการได้ 3 แบบคือ


  • ต่อวัน (Per Day) 
  • ต่อรอบ (Per Cycle) 
  • ต่อเดือน (Per Month)


กรณีระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) เป็นต่อวัน (Per Day) สามารถเลือก งวดการจ่ายเงิน (Payment Schedule) ได้ 2 แบบคือ


  • เดือนละครั้ง (Once Per Month)
  • รอบละครั้ง (Once Per Cycle)


กรณีระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) เป็นต่อรอบ (Per Cycle) หรือ ต่อเดือน (Per Month) จะไม่สามารถเลือก งวดการจ่ายเงิน (Payment Schedule) ได้ 


การคำนวณแบบ ต่อวัน (Per Day)


กรณีที่ตั้งค่าเป็น ต่อวัน (Per Day) ระบบจะตรวจสอบข้อมูลเป็นรายวัน หากวันไหนไม่ผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อยกเว้น วันนั้นจะได้เงินสวัสดิการ


ตัวอย่าง


เงินได้ (Payment) = เบี้ยขยัน

การจ่ายเงิน = 50 บาท ต่อวัน

มาสายหลังจากเวลาเริ่มกะ (Late From Shift Start After) = 10 นาที

ตารางกะ  08:00 - 17:00

06/05/2021 sign in 08:08 จะได้เบี้ยขยัน 50 บาท

07/05/2021 sign in 08:11 จะไม่ได้รับเบี้ยขยัน



การคำนวณแบบ ต่อรอบ (Per Cycle)


กรณีที่ตั้งค่าเป็น ต่อรอบ (Per Cycle) ระบบจะตรวจสอบข้อมูลในรอบนั้นว่ามีวันไหนที่ผิดเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อยกเว้นที่หรือไม่ ถ้ามีรอบนั้นจะไม่ได้เงินสวัสดิการ


การคำนวณแบบ ต่อเดือน (Per Month)


กรณีที่ตั้งค่าเป็น ต่อเดือน (Per Month) ระบบจะตรวจสอบข้อมูลของทั้งเดือนว่าภายในเดือนนั้นมีวันไหนที่ผิดเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อยกเว้นหรือไม่ ถ้ามีเดือนนั้นจะไม่ได้เงินสวัสดิการ 


ตัวอย่าง

เงินได้ (Payment) = เบี้ยขยัน

การจ่ายเงิน = 500 บาท ต่อเดือน

รวมมาสาย (นาที) = 30 นาที 

รวมมาสาย (ครั้ง) = 3 ครั้ง

หากภายในเดือนมาสาย 5 ครั้ง รวม 20 นาที จะไม่ได้รับเบี้ยขยัน

หายภายในเดือนมาสาย 3 ครั้ง รวม 18 นาที จะได้รับเบี้ยขยัน 500 บาท



7) ตั้งค่าข้อยกเว้นต่างๆ ในการจ่ายเงินสวัสดิการ


7.1) มาสายหลังจากเวลาเริ่มกะ (Late From Shift Start After)

สามารถตั้งค่าและกำหนดเงื่อนไขให้คำนวณมาสายหลังจากเวลาเริ่มกะได้กี่นาที 


ตัวอย่าง 


ตารางกะ  08:00 - 17:00  พักเบรค  12:00 - 13:00

ตั้งค่า มาสายหลังจากเวลาเริ่มกะ = 15 นาที

ถ้า sign in  08:08  ไม่นับเป็นสาย

ถ้า sign in  08:15  ไม่นับเป็นสาย

ถ้า sing in  08:16  นับเป็นสาย


7.2) เข้าสายหลังเวลาพัก (Late From Break After)

สามารถตั้งค่าและกำหนดเงื่อนไขได้ว่าให้คำนวณมาสายหลังเวลาพักเบรคได้กี่นาที 


ตัวอย่าง 


ตารางกะ  08:00 - 17:00  พักเบรค  12:00 - 13:00

ตั้งค่า เข้าสายหลังเวลาพัก = 10 นาที

ถ้า sign in  12:05  ไม่นับเป็นสาย

ถ้า sign in  12:10  ไม่นับเป็นสาย

ถ้า sing in  12:11  นับเป็นสาย


7.3) ออกก่อนเวลาเลิกกะ (Out Early From Shift End Before)

สามารถตั้งค่าและกำหนดเงื่อนไขได้ว่าให้คำนวณออกก่อนเวลาเลิกกะได้กี่นาที 

 

ตัวอย่าง 


ตารางกะ  08:00 - 17:00  พักเบรค  12:00 - 13:00

ตั้งค่า ออกก่อนเวลาเลิกกะ = 15 นาที

ถ้า sign out  16:50  ไม่นับเป็นออกก่อน

ถ้า sign in 16:45  ไม่นับเป็นออกก่อน

ถ้า sing in  16:44  นับเป็นออกก่อน


7.4) ออกก่อนเวลาพัก (Out Early From Break Before)

สามารถตั้งค่าและกำหนดเงื่อนไขได้ว่าให้คำนวณออกก่อนเวลาพักเบรคได้กี่นาที 


ตัวอย่าง 


ตารางกะ  08:00 - 17:00  พักเบรค  12:00 - 13:00

ตั้งค่า ออกก่อนเวลาพัก = 10 นาที

ถ้า sign out  11:55  ไม่นับเป็นออกก่อน

ถ้า sign in 16:50  ไม่นับเป็นออกก่อน

ถ้า sing in  16:49  นับเป็นออกก่อน


7.5) ขาดงาน (Absent)


หากไม่มีการ sign in และ sign out ในวันทำงานปกติ ซึ่งในตารางเวลา (Timesheet) จะแสดงเป็นขาดงาน (AB)


7.6) ลืมสแกน (Forget Scan)


มีการ sign in แต่ไม่มีการ sig out ในวันทำงานปกติ ซึ่งในตารางเวลา (Timesheet) จะแสดงเป็นข้อมูลไม่สมบูรณ์ (Invalid Data) 


7.7) ลายกเว้น (Take Leaves Except)


กรณีที่มีการตั้งค่า ยกเว้นการลา เช่น ลาพักร้อน เป็นต้น หากพนักงานลาพักร้อน พนักงานยังคงมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการอยู่ 


7.18) รวมมาสาย (นาที) ทั้งเดือน (Total Late Minutes (month)) 


หมายถึงรวมจำนวนนาทีที่มาสายของทั้งเดือน ซึ่งระบบจะคำนวณตั้งแต่เวลาเริ่มกะ (Shift Start) 


กรณีที่ ระยะเวลาเวลาการคำนวณ (Calculation Method) เป็น ต่อรอบ (Per Cycle) รวมจำนวนนาทีที่มาสายจะเปลี่ยนเป็น รวมมาสาย (นาที) ในรอบ (Total Late Minutes (Cycle)) แทน


ตัวอย่าง

ตารางกะ  08:00 - 17:00


05/04/2021 sign in  08:08

07/04/2021 sign in  08:17

20/04/2021 sign in  08:22


ดังนั้น รวมมาสาย (นาที) (Total Late Minutes) ของเดือน 04/2021 = 8 + 17 + 22 = 47 นาที


7.9) รวมมาสาย (ครั้ง) ทั้งเดือน (Total Late Times (month))


หมายถึงรวมจำนวนครั้งที่มาสายของทั้งเดือน ซึ่งระบบจะเริ่มนับเป็นสายตั้งแต่นาทีแรกหลังเวลาเริ่มกะ


กรณีที่ ระยะเวลาเวลาการคำนวณ (Calculation Method) เป็น ต่อรอบ (Per Cycle) รวมจำนวนครั้งที่มาสายจะเปลี่ยนเป็น รวมมาสาย (ครั้ง) ในรอบ (Total Late Times (Cycle)) แทน


ตัวอย่าง


ตารางกะ  08:00 - 17:00


05/04/2021 sign in  08:08 

07/04/2021 sign in  08:17 

20/04/2021 sign in  08:22 


รวมมาสาย (ครั้ง) ทั้งเดือน  = 3 ครั้ง 


ตัวอย่าง


กรณีที่มีการตั้งค่า มาสายหลังจากเวลาเริ่มกะ (Late From Shift Start After) = 10 นาที 


ตารางกะ  08:00 - 17:00

05/04/2021 sign in  08:08 --> ไม่สาย

07/04/2021 sign in  08:17 --> สาย

20/04/2021 sign in  08:22 --> สาย


รวมมาสาย (ครั้ง) ทั้งเดือน = 3 ครั้ง


8) เปิดใช้งาน (Enable)


ถ้าต้องการให้ระบบคำนวณเงินสวัสดิการตามกฏการจ่ายเงินสวัสดิการที่ตั้งค่าไว้ ให้ติ๊กช่อง เปิดใช้งาน (Enable) หากไม่ต้องการให้ระบบคำนวณเงินสวัสดิการดังกล่าว ไม่ต้องติ๊กปุ่ม เปิดใช้งาน (Enable)


9) จ่ายระหว่างทดลองงาน (Pay During Probation)


กรณีที่ตั้งค่าให้จ่ายระหว่างทดลองงาน ระบบจะคำนวณเงินสวัสดิการตามกฏการจ่ายเงินสวัสดิการตามปกติเหมือนพนักงานที่ผ่านทดลองงานแล้ว


กรณีที่ตั้งค่าไม่ให้จ่ายระหว่างทดลองงาน เมื่อพนักงานผ่านทดลองงานแล้วระบบจะคำนวณเงินสวัสดิการให้ ทั้งนี้หากวันที่ผ่านทดลองงานอยู๋ระหว่างรอบการทำเงินเดือน ระบบจะเริ่มคำนวณเงินสวัสดิการให้ในรอบการทำเงินเดือนถัดไป


กรณีพนักงานใหม่ที่เริ่มงานระหว่างรอบการคำนวณเงินสวัสดิการ ระบบจะไม่คำนวณเงินสวัสดิการในรอบนี้ให้ และจะเริ่มคำนวณเงินสวัสดิการในรอบถัดไป


ตัวอย่าง


วันตัดรอบของเงินเดือน = สิ้นเดือน

งวดการจ่ายเงินของเงินเดือน = เดือนละครั้ง

วันตัดรอบของการคำนวณเงินสวัสดิการ = สิ้นเดือนของงวดก่อน  


พนักงานเริ่มงาน 16/04/2021 

เงินได้ของเดือนพฤษภาคม = เงินเดือนของ 01-31/05/2021  

เงินได้ของเดือนมิถุนายน = เงินเดือนของ 01-30/06/2021 + เงินสวัสดิการของ 01-31/05/2021  


กรณีพนักงานที่ลาออกระหว่างรอบการคำนวณเงินสวัสดิการ ระบบจะไม่คำนวณเงินสวัสดิการให้


ตัวอย่าง


วันตัดรอบของเงินเดือน = สิ้นเดือน

งวดการจ่ายเงินของเงินเดือน = เดือนละครั้ง

วันตัดรอบของการคำนวณเงินสวัสดิการ = สิ้นเดือนของงวดก่อน  


พนักงานลาออก 16/05/2021 

เงินได้ของเดือนพฤษภาคม = เงินเดือนของ 01-31/05/2021 + เงินสวัสดิการของ 01-30/04/2021  

 

10) ตรวจสอบเงื่อนไขในวันหยุดประจำสัปดาห์ (Check Conditions on Day Off)


กรณีที่ ระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) เป็นต่อเดือน (Per Month) และต้องการให้ระบบตรวจสอบวันหยุดประจำสัปดาห์เหมือนวันทำงานปกติว่าเข้าตามเงื่อนไขที่ตั้งค่าไว้หรือไม่ ให้เปิดใช้งานหัวข้อ ตรวจสอบเงื่อนไขในวันหยุดประจำสัปดาห์ (Check Conditions on Day Off) 


11) ตรวจสอบเงื่อนไขในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (Check Conditions on Holiday)


กรณีที่ ระยะเวฃาการคำนวณ (Calculation Period) เป็นต่อเดือน (Per Month) และต้องการให้ระบบคำนวณเงินการจ่ายเงินสวัสดิการในวันหยุดนักขัตฤกษ์เหมือนวันทำงานปกติ ให้เปิดใช้งานหัวข้อ ตรวจสอบเงื่อนไขในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (Check Conditions on Holiday)


ตัวอย่าง


เบี้ยขยัน 500 บาท ต่อเดือน โดยพนักงานต้อง

- ไม่มาสายหลังเวลาเริ่มงานเกิน 15 นาที

- ไม่กลับก่อนเวลาเลิกงานเกิน 15 นาที

- ไม่ขาดงาน

- ไม่ลา


ทั้งนี้เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นรวมกรณีที่มีการทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และ/หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วย


สามารถตั้งค่าในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการดังนี้



12) จ่ายเงินวันหยุดประจำสัปดาห์ (Pay on Day Off)


กรณีที่ ระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) เป็นต่อวัน (Per Day) และต้องการให้ระบบคำนวณจ่ายเงินสวัสดิการในวันหยุดประจำสัปดาห์เหมือนวันทำงานปกติ ให้เปิดใช้งานหัวข้อ จ่ายเงินวันหยุดประจำสัปดาห์ (Pay on Day Off)


อย่างไรก็ดีระบบจะคำนวณการจ่ายเงินสวัสดิการและการหักเงินในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ต่อเมื่อมีการลงชื่อเข้างานเท่านั้น 


ตัวอย่าง


เงินช่วยค่าเดินทาง 60 บาท ต่อวัน โดยพนักงานต้อง


- จ่ายเงินช่วยค่าเดินทางเฉพาะวันที่มาทำงานจริง รวมกรณีมาทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

- ไม่มาสายหลังเวลาเริ่มงานเกิน 15 นาที

- ไม่ขาดงาน

- ไม่ลา


สามารถตั้งค่าในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการดังนี้



13) จ่ายเงินวันหยุดนักขัตฤกษ์ (Pay on Holiday)


กรณีที่ ระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) เป็นต่อวัน (Per Day) และต้องการให้ระบบคำนวณจ่ายเงินสวัสดิการในวันหยุดนักขัตฤกษ์เหมือนวันทำงานปกติ ให้เปิดใช้งานหัวข้อ จ่ายเงินวันหยุดนักขัตฤกษ์ (Pay on Holiday)


อย่างไรก็ดีระบบจะคำนวณการจ่ายเงินสวัสดิการและการหักเงินในวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ต่อเมื่อมีการลงชื่อเข้างานเท่านั้น 


ตัวอย่าง


เงินช่วยค่าเดินทาง 50 บาท ต่อวัน โดยพนักงานต้อง

- ไม่มาสายหลังเวลาเริ่มงานเกิน 15 นาที

- ไม่กลับก่อนเวลาเลิกงานเกิน 15 นาที

- ไม่ขาดงาน

- ไม่ลา


และไม่จ่ายเงินสวัสดิการค่าอาหารในวันหยุดประจำสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 


สามารถตั้งค่าในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการดังนี้



14) กำหนดจำนวนเงินสวัสดิการที่จะได้รับต่อเดือนหรือต่อรอบ ซึ่งมี 2 แบบคือ


14.1) แบบคงที่ (Fixed)


จำนวนเงินสวัสดิการที่ได้รับจะเป็นจำนวนเท่ากันทุกเดือน/รอบถ้าเข้าเงื่อนไขการจ่ายเงิน


14.2) แบบขั้นบันได (Step)


จำนวนเงินสวัสดิการที่ได้รับจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดถ้าเข้าเงื่อนไขการจ่ายเงิน



เช่น ค่าเบี้ยขยัน หากไม่มาสาย ไม่ขาดงาน ไม่ลา เดือนแรกจะะได้ 300 บาท เดือนนที่สองได้ 500 บาท เดือนที่สามเป็นต้นไปได้ 1,000 บาท เป็นต้น