การตั้งค่าเงินเดือนสามารถตั้งได้ที่บริษัทและที่สาขา โดยการตั้งค่าเงินเดือนที่บริษัทใช้สำหรับกรณีที่บริษัทมีหลายสาขาและแต่ละสาขาใช้อัตราภาษีเหมือนกัน, รอบการทำเงินเดือน ค่าล่วงเวลา การจ่ายเงินสวัสดิการ และเงินหักเหมือนกัน ส่วนการตั้งค่าเงินเดือนที่สาขาใช้สำหรับกรณีที่แต่ละสาขาใช้อัตราภาษีแตกต่างกัน หรือมีรอบการทำเงินเดือน หรือรอบการคิดค่าล่วงเวลา หรือรอบการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเงินหักไม่เหมือนกัน


ซึ่งกรณีที่มีการตั้งค่าเงินเดือนที่บริษัทสามารถเลือกทำเงินเดือนได้หลายสาขาพร้อมกัน รวมทั้งการอนุมติเงินเดือน, การส่งแจ้งเตือน และการสร้างไฟล์ธนาคารหลายสาขาพร้อมกันได้ด้วย 



การตั้งค่าเงินเดือน (Payroll Settings)


 

- ไปที่ บริษัท (Company)


- หากต้องการตั้งค่าเงินเดือนในบริษัท ไม่ต้องติ๊กช่อง ใช้การตั้งค่าเงินเดือนสาขา (Use Branch Payroll Setting) และเมื่อมีการตั้งค่าและบันทึกเรียบร้อยแล้วในหน้า การตั้งค่าเงินเดือน ของทุกสาขาในบริษัท จะแสดงค่าการตั้งค่าเงินเดือนเหมือนที่ตั้งไว้ในบริษัทและจะไม่สามารถแก้ไขได้


- หากไม่ต้องการตั้งค่าเงินเดือนในบริษัท ให้ติ๊กช่องใช้การตั้งค่าเงินเดือนสาขา (Use Branch Payroll Setting) และไปตั้งค่าเงินเดือนที่สาขาแทน


- เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้กด บันทึก (Save)



ตั้งค่าอะไรบ้างในการตั้งค่าเงินเดือน


 

1) วิธีคำนวณภาษี (Tax Method) แบ่งเป็น


     1.1) อัตราก้าวหน้า (Progressive Tax Rate) ตั้งแต่ 0% - 35%


     1.2) อัตราคงที่ (Fixed Tax Rate) ซึ่งจะแบ่งเป็น


            1.2.1) ภงด.1 (Annual (PND 1)) ใช้กรณีที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้หักอัตราภาษี 3% ซึ่งจะแสดงประเภทเงินได้ (2) ในใบแนบภงด.1

    

            1.2.2) ภงด.3 (Monthly (PND 3) ใช้กรณีที่ต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งเงินได้จะไม่ถูกรวมยื่นในแบบ ภงด.1, ภงด. 1ก และจะไม่ถูกหักประกันสังคม


2) รูปแบบสลิปเงินเดือนพนักงาน (Employee Payslip Format) 


เป็นการกำหนดรูปแบบของสลิปเงินเดือนที่พนักงานสามารถเรียกดูได้จากแอพมือถือหรือเว็บแอพ


หมายเหตุ    

ดูเรื่อง การตั้งค่าสลิปเงินเดือนพนักงาน (Employee Payslip Setting) เพิ่มเติมได้ที่ LINK


3) เงินเดือน (Salary) 


สามารถตั้งค่า วันตัดรอบ (Cut Off Date) และ งวดการจ่ายเงิน (Payment Schedule) ได้


  • เดือนละครั้ง (Once a Month)
  • เดือนละสองครั้ง (Twice a Month)
  • รายสัปดาห์ (Weekly)


4) การขอคืนเงิน (Reimbursement) 


  • กรณีงวดการจ่ายเงินของเงินเดือนเป็น เดือนละครั้ง (Once a Month)

    งวดการจ่ายเงินจะเป็นเดือนละครั้ง 

    สามารถเลือกช่วงเวลาเป็น งวดปัจจุบัน (Current) หรือ งวดก่อน (Previous) ได้ 

    สามารถกำหนดวันตัดรอบ (Cut Off Date) ได้

    กรณีช่วงเวลาเป็นงวดปัจจุบัน จะไม่สามารถตั้งวันตัดรอบโอทีหลังจากวันตัดรอบเงินเดือนได้

  • กรณีงวดการจ่ายเงินของเงินเดือนเป็น เดือนละสองครั้ง (Twice a Month)

    สามารถเลือกงวดการจ่ายเงินเป็น เดือนละครั้ง (Once a Month) หรือ เดือนละสองครั้ง (Twice a Month) ได้

    สามารถเลือกช่วงเวลาเป็น งวดปัจจุบัน (Current) หรือ งวดก่อน (Previous) ได้ แต่ไม่สามารถเลือก วันตัดรอบ / วันสิ้นสุดรอบเงินเดือนงวดแรก (End of First Cycle) ได้ 

    วันตัดรอบ / วันสิ้นสุดรอบเงินเดือนงวดแรก จะเหมือนกับเงินเดือน
     
  • เงินรายสัปดาห์ (Weekly)

    สามารถเลือก ช่วงเวลา (Period) ได้อย่างเดียว ส่วนวันตัดรอบ (Cut Off Date) จะเหมือนกับเงินเดือน 


5) ค่าล่วงเวลา (Overtime) 


  • กรณีงวดการจ่ายเงินของเงินเดือนเป็น เดือนละครั้ง (Once a Month)

    งวดการจ่ายเงินจะเป็นเดือนละครั้ง 

    สามารถเลือกช่วงเวลาเป็น งวดปัจจุบัน (Current) หรือ งวดก่อน (Previous) ได้ 

    สามารถกำหนดวันตัดรอบ (Cut Off Date) ได้

    กรณีช่วงเวลาเป็นงวดปัจจุบัน จะไม่สามารถตั้งวันตัดรอบโอทีหลังจากวันตัดรอบเงินเดือนได้

  • กรณีงวดการจ่ายเงินของเงินเดือนเป็น เดือนละสองครั้ง (Twice a Month)

    สามารถเลือกงวดการจ่ายเงินเป็น เดือนละครั้ง (Once a Month) หรือ เดือนละสองครั้ง (Twice a Month) ได้

    สามารถเลือกช่วงเวลาเป็น งวดปัจจุบัน (Current) หรือ งวดก่อน (Previous) ได้ แต่ไม่สามารถเลือก วันตัดรอบ / วันสิ้นสุดรอบเงินเดือนงวดแรก (End of First Cycle) ได้ 

    วันตัดรอบ / วันสิ้นสุดรอบเงินเดือนงวดแรก จะเหมือนกับเงินเดือน
     
  • เงินรายสัปดาห์ (Weekly)

    สามารถเลือก ช่วงเวลา (Period) ได้อย่างเดียว ส่วนวันตัดรอบ (Cut Off Date) จะเหมือนกับเงินเดือน 


6) กฏการจ่ายเงินสวัสดิการ (Attendance Rules) 

  • สามารถเลือกช่วงเวลาเป็น งวดปัจจุบัน (Current) หรือ งวดก่อน (Previous) ได้ 
  • สามารถกำหนดวันตัดรอบ (Cut Off Date) ได้ 
  • กรณีจ่ายเงินเดือนเดือนละสองครั้งหรือรายสัปดาห์ หากต้องการให้ระบบคำนวณจ่ายเงินสวัสดิการตามรอบการจ่ายเงินเดือน ให้ไปตั้งค่า ระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) ในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการ เป็น ตามรอบ (Per Cycle)


7) กฏการหักเงิน (Deduction Rules)

  • สามารถเลือกช่วงเวลาเป็น งวดปัจจุบัน (Current) หรือ งวดก่อน (Previous) ได้ 
  • สามารถกำหนดวันตัดรอบ (Cut Off Date) ได้ 
  • กรณีจ่ายเงินเดือนเดือนละสองครั้งหรือรายสัปดาห์ หากต้องการให้ระบบคำนวณหักเงินตามรอบการจ่ายเงินเดือน ให้ไปตั้งค่า ระยะเวลาการคำนวณ (Calculation Period) ในกฏการจ่ายเงินสวัสดิการ เป็น ตามรอบ (Per Cycle)

  

หมายเหตุ    

ดูเรื่อง การตั้งค่าวันตัดรอบและช่วงเวลาของค่าล่วงเวลา (Overtime Cut Off Date & Period Setting) เพิ่มเติมได้ที่ LINK


ดูเรื่อง การตั้งค่ารอบเงินเดือนและค่าล่วงเวลาไม่เหมือนกัน เพิ่มเติมได้ที่ LINK

  

ดูเรื่อง การตั้งค่าวันตัดรอบและช่วงเวลาของกฏการจ่ายเงินสวัสดิการและกฏการหักเงิน (Allowance & Deduction Rules Cut Off Date & Period Setting) เพิ่มเติมได้ที่ LINK


กรณีที่ตั้งค่าเงินเดือนในบริษัท ทุกสาขาในบริษัทจะมีรายละเอียดการตั้งค่าเงินเดือนเหมือนกัน เช่น วันตัดรอบและงวดการจ่ายเงินของเงินเดือน, วันตัดรอบและงวดการจ่ายเงินของกฏการจ่ายเงินสวัสดิการ, วันตัดรอบและงวดการจ่ายเงินของกฏการหักเงิน เป็นต้น