การอัปโหลดค่าลดหย่อนภาษีสามารถทำได้ 2 วิธีคือ


1) อัปโหลดจากหน้าพนักงาน


- ไปที่หน้า พนักงาน (Employee)



- คลิกที่ไอคอน อัปโหลดพนักงาน (Upload Employees)



- เลือก ค่าลดหย่อนภาษีพนักงาน (Tax Deduction Employees)



- ระบบจะแสดงหน้า อัปโหลดค่าลดหย่อนภาษีพนักงาน (Upload Employees Tax Deduction) เลือก บริษัท (Company) ที่ต้องการอัปโหลดค่าลดหย่อนภาษี เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม ต่อไป (Next)



- เลือกไฟล์ และจับคู่ฟิลด์ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม อัปโหลด (Upload)



2) อัปโหลดจากหน้าการตั้งค่า (Preferences)



- ไปที่ การตั้งค่า (Preferences)



- ไปที่ อัปโหลด (Upload)




- ไปที่ อัปโหลดค่าลดหย่อนภาษี (Upload Tax Deduction)



- เลือก บริษัท (Company) ที่ต้องการอัปโหลด และคลิกที่ปุ่ม ต่อไป (Next)



- คลิกที่ปุ่ม เลือกไฟล์ (Select File) และจับคู่ฟิลด์ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่มอัปโหลด (Upload)





ความหมายของช่องต่างๆ ในเทมเพลตอัปโหลดค่าลดหย่อนภาษี



1) Employee ID (รหัสพนักงาน)


สามารถใส่เป็นรหัสพนักงาน (Employee ID) หรือรหัสในระบบ (System ID) ก็ได้ โดยเลือกจับคู่ฟิลด์ตอนอัปโหลดไฟล์ให้ถูกต้อง เช่น หากใส่ข้อมูลเป็นรหัสพนักงาน ให้เลือกจับคู่ฟิลด์เป็น รหัสพนักงาน และหากใส่ข้อมูลเป็นรหัสในระบบ ให้เลือกจับคู่ฟิลด์เป็นรหัสในระบบแทน เป็นต้น


2) Spouse (สถานะการยื่นแบบภงด.91 ของคู่สมรส)

กรณีที่สถานะของพนักงาน (Marital Status) ในสัญญาจ้างเป็น โสด/Single, หม้าย/Widowed, หย่า/Divorced หรือ แยกกันอยู่/Separated แต่ในเทมเพลตใส่สถานะของคู่สมรสเป็น แยกยื่น (File Tax Separately) หรือไม่มีเงินได้ (Without Income) ระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้


สถานะของพนักงาน (Marital Status) เป็น สมรส/Married ระบบจะแสดง ลดหย่อนคู่สมรส/Spouse Allowance 60,000 บาท ให้อัตโนมัติ


3) Number of Children (Born Before 2018) (จำนวนบุตรที่เกิดก่อนพ.ศ. 2561)


ระบบจะแสดง ลดหย่อน ค่าการศึกษา บุตร/Child Allowance ให้เองอัตโนมัติ โดยบุตรที่เกิดก่อนพ.ศ. 2561 จะหักค่าลดหย่อนคนละ 30,000 บาท


4) Number of Children (Born on or After 2018) (จำนวนบุตรที่เกิดหลังพ.ศ. 2561)


ระบบจะแสดง ลดหย่อน ค่าการศึกษา บุตร/Child Allowance ให้เองอัตโนมัติ โดยบุตรที่เกิดหลังพ.ศ. 2561 จะหักลดหย่อนสำหรับบุตรคนแรก 30,000 บาท บุตรคนต่อไปคนละ 60,000 บาท


5) Parents (จำนวนบิดามารดาของผู้มีเงินได้)


กรณีที่ใส่จำนวนบิดามารดาของผู้มีเงินได้ในเทมเพลตเท่ากับ 1 หรือ 2 คน ระบบจะแสดง หักลดหย่อนบุพการี /Parents Allowance ให้อัตโนมัติ


- จำนวนบิดามารดาของผู้มีเงินได้เท่ากับ 1 คน ระบบจะแสดง หักลดหย่อนบุพการี /Parents Allowance 30,000 บาท 


- จำนวนบิดามารดาของผู้มีเงินได้เท่ากับ 2 คน ระบบจะแสดง หักลดหย่อนบุพการี /Parents Allowance 60,000 บาท 


6) Spouse's Parents (จำนวนบิดามารดาของผู้สมรส)


กรณีที่สถานะของพนักงาน (Marital Status) ในสัญญาจ้างเป็น โสด/Single, หม้าย/Widowed, หย่า/Divorced หรือ แยกกันอยู่/Separated แต่ในเทมเพลตใส่จำนวนบิดามารดาของผู้สมรสเป็น 1 หรือ 2 ระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้


กรณีที่สถานของพนักงาน (Marital Status) ในสัญญาจ้างเป็น สมรส/Married และสถานะคู่สมรสเป็น แยกยื่น (File Tax Separately) และจำนวนบิดามารดาของผู้สมรสเป็น 1 หรือ 2 ระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้


กรณีที่สถานของพนักงาน (Marital Status) ในสัญญาจ้างเป็น สมรส/Married และสถานะคู่สมรสเป็น ไม่มีเงินได้ (Without Income) เมื่อใส่จำวนบิดามารดาของผู้สมรสเป็น 1 หรือ 2 ระบบจะแสดง หักลดหย่อน บิดา มารดา ของคู่สมรส/Spouse’s Parents Allowance ให้อัตโนมัติ


- จำนวนบิดามารดาของคู่สมรสเท่ากับ 1 คน ระบบจะแสดง หักลดหย่อน บิดา มารดา ของคู่สมรส/Spouse’s Parents Allowance 30,000 บาท


- จำนวนบิดามารดาของคู่สมรสเท่ากับ 2 คน ระบบจะแสดง หักลดหย่อน บิดา มารดา ของคู่สมรส/Spouse’s Parents Allowance 60,000 บาท


7) Disabled / Incompetent Person (จำนวนคนทุพลภาพ/คนพิการที่อุปการะ)


8) Life Insurance Premium (หักลดหย่อนประกันชีวิต) 


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


9) Health Insurance (ประกันสุขภาพ) 

ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


10) Health Insurance Parents (เบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา)

ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


11) Health Insurance Parents (Spouse) (เบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา (คู่สมรส))


กรณีที่สถานะของพนักงาน (Marital Status) ในสัญญาจ้างเป็น โสด/Single, หม้าย/Widowed, หย่า/Divorced หรือ แยกกันอยู่/Separated หากระบุเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของคู่สมรส ระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้


กรณีที่สถานของพนักงาน (Marital Status) ในสัญญาจ้างเป็น สมรส/Married และสถานะคู่สมรสเป็น แยกยื่น (File Tax Separately)  หากระบุเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของคู่สมรส ระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้


12) Home Loan Interest (ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้  


13) Pension Insurance Premium (เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


14) Retirement Mutual Fund (RMF) (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


15) National Savings Fund (กองทุนการออมแห่งชาติ)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


16) Private School Teacher Aid Fund (กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


17) Super Saving Fund (กองทุนรวมเพื่อการออม)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท หากเกินระบบจะแสดงเป็น Invalid Data และไม่สามารถอัปโหลดได้ 


18) Donation Charity (เงินบริจาคเพื่อองค์กรการกุศล)


19) Donation Education (เงินบริจาคเพื่อการศึกษา)


20) First Time Home Buyer Exemption (หักลดหย่อนบ้านหลังแรก)


ใส่ค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท



หมายเหตุ


1) กรณีที่เพิ่มรายการค่าลดหย่อนใหม่ ซึ่งยังไม่เคยมีในสัญญาจ้าง หลังจากที่อัปโหลดค่าลดหย่อนภาษี รายการค่าลดหย่อนใหม่นี้จะถูกเพิ่มในสัญญาจ้างพนักงาน


2) กรณีที่ในสัญญาจ้างมีรายการค่าลดหย่อนอยู่เดิมแล้ว และมีการอัปโหลดรายการค่าลดหย่อนตัวเดิมใหม่ ระบบจะแทนที่มูลค่าของค่าลดหย่อนเดิมด้วยค่าลดหย่อนใหม่


3) กรณีที่ในเทมเพลตมีรายการค่าลดหย่อนแต่ไม่ได้ใส่มูลค่าไว้ (เป็นช่องว่าง) ระบบจะข้ามรายการค่าลดหย่อนตัวนั้น


4) กรณีที่ใส่ค่าลดหย่อนในเทมเพลตเท่ากับ 0 หรือ 0.00 ระบบจะแทนที่มูลค่าของค่าลดหย่อนในสัญญาจ้าง (ถ้ามีอยู่เดิม) หรือเพิมค่าลดหย่อนนี้ในสัญญาจ้างเป็น 0 บาท