การเพิ่มวันลาใหม่สามารถทำได้ดังนี้


1) ไปที่ การตั้งค่า (Preferences)


2) ไปที่ วันลา (Leaves)



3) คลิกที่ เพิ่ม (Add)



4) หน้า ข้อมูล (Information) 

 

  • ชื่อวันลา (Name)

  • ตั้งค่าเริ่มต้น (Default)
    กรณ๊ที่ติ๊กช่อง ตั้งค่าเริ่มต้น หมายความว่าเมื่อมีการเพิ่มพนักงานและสัญญาจ้างใหม่ ประเภทวันลานี้จะแสดงในสัญญาจ้างพนักงานให้อันโนมัติ

  • สิทธิ (Entitlement) มี 3 แบบได้แก่

        1. ไม่จำกัด (None) หมายถึงไม่ได้กำหนดจำนวนสิทธิวันลา จะลากี่วันก็ได้
        2. คงที่ (Fixed) หมายถึงกำหนดจำนวนสิทธิวันลากี่วันต่อปี

        3. ขั้นนบันได (Step) หมายถึงกำหนดจำนวนสิทธิวันลากี่วันต่อปี และจำนวนสิทธิวันลาจะเพิ่มขึ้นตามอายุงานที่เพิ่มขึ้น 


        กรณีที่เลือกสิทธิเป็นแบบขั้นบันได ระบบจะแสดงหน้าต่าง ขั้นตอน (Step) 

        ให้คลิกที่ เพิ่มขั้นตอน (Step) เพื่อใส่จำนวนสิทธิวันลา



ตัวอย่าง



  • ประเภทวันลา (Leave Type)
    1. การลาที่จ่ายเงิน (Paid Leaves)
    2. การลาที่ไม่จ่ายเงิน (Unpaid Leaves)


  • สาขา (Branch)
    เลือกสาขาที่ต้องการใช้กับวันลานี้ 
    กรณีที่ไม่มีการติ๊กเลือกสาขาและกดบันทึก หมายความว่าประเภทวันลานี้จะสามารถใช้ได้กับทุกสาขา


หมายเหตุ  
  

กรณีที่เคยตั้งค่าวันลาไว้ก่อนแล้ว ต่อมาต้องการยกเลิกประเภทวันนี้สำหรับบางสาขา ให้ไปแก้ไขได้โดยเอาเครื่องหมายติ๊กหน้าช่องสาขาที่ยกเลิกประเภทวันลานี้ออก และเมื่อกดบันทึก (Save) จะมีข้อความถามว่า ต้องการให้เอาประเภทวันลานี้ออกจากสัญญาจ้างพนักงานหรือไม่ (Do you want to remove this Leave from Employee Contract?) 



กรณีที่เลือก ใช่ (Yes) ประเภทวันลานี้จะถูกลบจากวันลาพนักงาน อย่างไรก็ดีประวัติคำร้องขอลาของวันลานี้จะยังคงอยู่ แต่พนักงานจะไม่สามารถส่งคำร้องขอวันลานี้ได้อีก


กรณีที่เลือก ไม่ (No) ประเภทวันลานี้จะยังคงแสดงในวันลาพนักงาน พนักงานยังคงสามารถส่งคำร้องขอวันลานี้ได้อยู่ตามปกติ แต่อย่างไรก็ดีกรณีที่มีการเพิ่มพนักงานใหม่จะไม่สามารถเพิ่มประเภทวันลานี้ในวันลาพนักงานได้  

5) หน้า การตั้งค่า (Settings)



  • เพศ (Gender)
    1. ทั้งหมด (All) 
        วันลานี้ใช้กับพนักงานทั้งเพศชายและเพศหญิง
    2. เพศชาย (Male)
        วันลานี้ใช้กับพนักงานเพศชายเท่านั้น
    3. เพศหญิง (Female)
        วันลานี้ใช้กับพนักงานเพศหญิงเท่านั้น

  • วิธีคำนวณ (Compute Method)
    1. นับจำนวนวันลาเฉพาะวันทำงาน (Working Day)
    2. นับวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์รวมเป็นวันลาด้วย ในกรณะที่ระยะเวลาที่ขอลามีวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์คั่น (Calendar Day) เช่น ลาคลอด เป็นต้น

  • อนุญาตให้ลาขั้นต่ำ (Leave Permissions)
    1. เป็นรายชั่วโมง (By Hour)
        หมายความว่า วันลานี้สามารถลาเป็นชั่วโมงได้
        กรณีตั้งค่าให้ลาเป็นรายชั่วโมง สามารถกำหนดจำนวนชั่วโมงขั้นต่ำได้เป็นอย่างน้อย 15 นาที หรือ 30 นาที หรือ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง




    2. เต็มวัน (Full Day)
        หมายความว่า วันลานี้ต้องลาเต็มวันเท่านั้น
    3. ครึ่งวัน (Half Day)
        หมายความว่า วันลานี้สามารถลาครึ่งวันหรือเต็มวันได้เท่านั้น

  • ร้องขอวันลาได้หลังวันที่ (Request Leave After)
    1. วันเริ่มงาน (Join Date)
    2. วันสิ้นสุดทดลองงาน (Probation Date)

  • อนุญาตให้ลาเกินวันลาคงเหลือ (Request Leave Over Balance)
    การอนุญาต/ไม่อนุญาตให้ลาเกินวันลาคงเหลือจะมีผลเฉพาะกรณีที่ตั้งค่า สิทธิ (Entitlement) เป็น คงที่ (Fixed) หรือ ขั้นบันได (Step) เท่านั้น

    การอนุญาต/ไม่อนุญาตให้ลาเกินวันลาคงเหลือจะไม่มีผลกรณีที่ตั้งค่า สิทธิ (Entitlement) เป็น ไม่จำกัด (None)

    กรณีตั้งค่าอนุญาตให้ลาเกินวันลาคงเหลือได้ เมื่อมีการลาเกิน ระบบจะแสดงจำนวนวันลาคงเหลือเป็น 0 วันลาคงเหลือจะไม่แสดงยอดติดลบ โดยจะไปหักวันลาคงเหลือของปี

  • เฉลี่ยวันลาตามสัดส่วนสำหรับพนักงานใหม่ (Prorate Leave New Joiner)


หมายเหตุ    ดูเรื่อง การคำนวณจำนวนสิทธิวันลาตามสัดส่วนสำหรับพนักงานใหม่ (Prorate Leave New Joiner) เพิ่มเติมได้ที่ LINK


  • กำหนดวันยื่นคำร้องขอลา (Leave Submit Cut Off)
    1. ยื่นเมื่อไหร่ก็ได้ (No)
    2. ยื่นล่วงหน้า (Before) 
    สามารถระบุได้ว่าต้องยื่นคำร้องขอลาล่วงหน้ากี่วัน โดยนับรวมวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วยหรือไม่

        3. ยื่นภายหลัง (After)
สามารถระบุได้ว่าสามารถยื่นคำร้องขอลาภายหลังจากวันลาได้กี่วัน โดยนับรวมวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วยหรือไม่ 


  • ขั้นตอนการอนุมัติ (Approval Work Flow)
    เป็นการกำหนดขั้นตอนการอนุมัติวันลาของประเภทวันลานี้

    ผู้จัดการระดับที่ 1 (Manager Level 1)  
    กรณีมีผู้จัดการระดับที่ 1 มากกว่า 1 คน สามารถกำหนดได้ว่าวันลานี้ต้องให้ผู้จัดการคนใดคนหนึ่ง (Any) หรือทุกคน (All) อนุมัติ

    ผู้จัดการระดับที่ 2 (Manager Level 2)
    กรณีมีผู้จัดการระดับที่ 2 มากกว่า 1 คน สามารถกำหนดได้ว่าเมื่อผู้จัดการระดับที่ 1 อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดการระดับที่ 2 แค่รับทราบหรือสามารถไม่อนุมัติได้ หรือเมื่อผู้จัดการระดับที่ 1 อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดการระดับที่ 2 คนใดคนหนึ่งหรือทุกคนต้องอนุมัติด้วยอีกที

หมายเหตุ

ดูเรื่อง การตั้งค่าขั้นตอนการอนุมัติ (Approval Workflow) เพิ่มเติมได้ที่ LINK 

  • รีเซ็ตวันลา (Leave Reset) 
    เป็นการกำหนดวันที่ในการรีเซ็ตวันลา และสิทธิวันลาคงเหลือที่อนุญาติให้ยกไปใช้ในปีถัดไป

    วันรีเซ็ตวันลาคงเหลือ (Leave Balance Reset Date)
    ระบุวันรีเซ็ตวันลาคงเหลือเพื่อตัดยอดสิทธิวันลา วันลาที่ใช้ไป วันลาคงเหลือ และ วันลาสะสมยกมา

    รีเซ็ตวันลาอัตโนมัติ (Automatic Leave & Carry Forward Reset)
    ระบบจะรีเซ็ตวันลาและวันลาคงเหลือยกมาให้อัตโนมัติ ตามฟิล์ดวันรีเซ็ตวันลาคงเหลือ และ วันคงเหลือยกมาใช้ได้ถึงวันที่ 

    หากไม่ติ๊กรีเซ็ตวันลาอัตโนมัติ แอดมินจะต้องทำการรีเซ็ตวันลาด้วยตนเอง

    ดูเรื่อง การรีเซ็ตวันลา (Reset Leave) เพิ่มเติมได้ที่ LINK


    วันคงเหลือยกมาสูงสุดไม่เกิน (Max Carry Forward Days)
    สามารถกำหนดวันคงเหลือยกมาสูงสุดจากปีก่อนได้ไม่เกินกี่วัน

    วันคงเหลือยกมาใช้ได้ถึงวันที่ (Carry Forward Cut Off Date)
    กรณีต้องการให้สามารถยกวันลาคงเหลือไปใช้ในปีหน้าได้ ให้ระบุวันตัดยอดการใช้วันลาคงเหลือยกมา

หมายเหตุ

ดูเรื่อง ตัวอย่างการตั้งค่าการรีเซ็ตวันลา (Leave Reset Example) เพิ่มเติมได้ที่ LINK


6) เมื่อตั้งค่าวันลาเสร็จเรียบร้อย คลิกที่ บันทึก (Save)