ในสัญญาจ้างพนักงานนอกจากสามารถเพิ่มเงินได้ประจำเช่น ค่าตำแหน่ง, ค่าน้ำมัน เป็นต้นได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มเงินหักประจำเช่น ค่าจอดรถ, เงินกู้ยืม เป็นต้น ได้อีกด้วย ทั้งนี้เงินหักประจำสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ


1) เงินหักประจำต่อเดือน (Monthly)



1.1) กรณีตั้งค่าเงินเดือนเป็น เดือนละครั้ง (Once a Month) 
เงินหักประจำที่ระบุในสัญญาจ้างจะเป็นเงินหักต่อเดือน ดังนั้นเมื่อมีการทำเงินเดือน รายละเอียดเงินเดือนจะแสดงจำนวนเงินหักประจำเท่ากับที่แสดงในสัญญาจ้าง


1.2) กรณีตั้งค่าเงินเดือนเป็น เดือนละสองครั้ง (Twice a Month) 
เงินหักประจำที่ระบุในสัญญาจ้างจะเป็นเงินหักต่อเดือน ดังนั้นเมื่อมีการทำเงินเดือน รายละเอียดเงินเดือนจะแสดงจำนวนเงินหักประจำต่องวดเท่ากับเงินหักประจำที่แสดงในสัญญาจ้างหาร 2


1.3) กรณีตั้งค่าเงินเดือนเป็น รายสัปดาห์ (Weekly) 
เงินหักประจำที่ระบุในสัญญาจ้างจะเป็นเงินหักต่อสัปดาห์ ดังนั้นเมื่อมีการทำเงินเดือน รายละเอียดเงินเดือนจะแสดงจำนวนเงินหักประจำเท่ากับที่แสดงในสัญญจ้าง


2) เงินหักประจำแบบผ่อนชำระ (Installment)



2.1) กรณีที่ตั้งค่าเงินเดือนเป็น เดือนละครั้ง (Once a Month) 
เงินหักประจำที่แสดงในรายละเอียดเงินเดือนจะเท่ากับ จำนวนเงินหักประจำ หาร จำนวนเดือน


ตัวอย่าง

เงินหักประจำชื่อ เงินกู้ยืม จำนวน 10,000 บาท โดยผ่อนชำระ 10 เดือน


เดือนที่ 1 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 10,000 / 10 = 1,000 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 9,000 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 9 เดือน


เดือนที่ 2 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 9,000 / 9 = 1,000 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 8,000 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 8 เดือน 


เดือนที่ 3 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 8,000 / 8 = 1,000 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 7,000 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 7 เดือน



2.2) กรณีที่ตั้งค่าเงินเดือนเป็น เดือนละสองครั้ง (Twice a Month) 
เงินหักประจำที่แสดงในรายละเอียดเงินเดือนจะเท่ากับ จำนวนเงินหักประจำ หาร จำนวนเดือน หาร 2


ตัวอย่าง

เงินหักประจำชื่อ เงินกู้ยืม จำนวน 6,000 บาท โดยผ่อนชำระ 4 เดือน


เดือนที่ 1 งวดแรก ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 6,000 / 4 / 2= 750 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 5,250 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 3.5 เดือน


เดือนที่ 2 งวดสอง ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 5,250 / 3.5 / 2 = 750 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 4,500 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 3 เดือน


เดือนที่ 3 งวดแรก ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 4,500 / 3 / 2 = 750 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 3,750 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 2.5 เดือน


2.3) กรณีที่ตั้งค่าเงินเดือนเป็น รายสัปดาห์ (Weekly)
เงินหักประจำที่แสดงในรายละเอียดเงินเดือนจะเท่ากับ จำนวนเงินหักประจำ หาร จำนวนสัปดาห์

 

ตัวอย่าง

เงินหักประจำชื่อ เงินกู้ยืม จำนวน 3,000 บาท โดยผ่อนชำระ 3 สัปดาห์


เดือนที่ 1 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 3,000 / 3 = 1,000 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 2,000 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 2 สัปดาห์


เดือนที่ 2 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 2,000 / 2 = 1,000 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 1,000 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 1 สัปดาห์



อย่างไรก็ดีกรณีที่มีการแก้ไขเงินหักประจำในรายละเอียดเงินเดือน ยอดเงินหักประจำในสัญญาจ้างจะแสดงยอดคงเหลือที่มีการอัปเดท


ตัวอย่าง

เงินหักประจำชื่อ เงินกู้ยืม จำนวน 10,000 บาท โดยผ่อนชำระ 8 เดือน


เดือนที่ 1 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 10,000 / 8 = 1,250 บาท


แก้ไขเงินยอดเงินกู้ยืมในรายละเอียดเงินเดือนจาก 1,000 เป็น 3,500 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 6,500 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 7 เดือน


เดือนที่ 2 ระบบจะคำนวณเงินหักประจำเท่ากับ 6,500 / 7 = 928.58 บาท


แก้ไขเงินยอดเงินกู้ยืมในรายละเอียดเงินเดือนจาก 928.58 เป็น 2,900 บาท


ในสัญญาจ้างจะแสดงจำนวนเงินหักประจำคงเหลือของเงินกู้ยืมเท่ากับ 3,600 บาท และแสดงจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระเท่ากับ 6 เดือน



หมายเหตุ

ดูเรื่อง การเพิ่มพนักงาน (Add Employee) เพิ่มเติมได้ที่ LINK