สำหรับตารางกะยืดหยุ่น (Flexible Shift) ระบบจะเริ่มนับโอทีหลังจากครบชั่วโมงทำงานต่อวันแล้ว



1) กรณีที่ไม่ได้เปิดใช้งาน OT Request ในตารางกะ 


หากมีการลงชื่อออกจากงานหลังเวลาเลิกงานปกติ ระบบจะแสดงเป็น จำนวนชั่วโมงโอที (OT Hours) แต่ทั้งนี้ขึ้นกับอยู่ว่าในตารางกะมีการตั้งค่าดังต่อไปนี้หรือไม่ 


- หักเวลาพักระหว่างทำโอที (Deduct OT Break)
- จำนวนชั่วโมงโอทีต่ำสุด (Min OT Hours) 
- จำนวนชั่วโมงโอทีสูงสุด (Max OT hours)


ตัวอย่าง 1

ตารางกะ Flexible Shift 1


ตารางเวลา (Timesheet)

เวลา 08:00 - 17:00 แสดงเป็น Regular Hour = 9 ชั่วโมง

เวลา 17:00 - 17:30 หักเป็น Deduct OT Break = 0.5 ชั่วโมง

เวลา 17:30 - 19:30 แสดงเป็น OT 1.5 = 2 ชั่วโมง

เวลา 19:30 - 22:00 แสดงเป็น Extra Hour = 2.5 ชั่วโมง

 


อย่างไรก็ดีกรณีที่พนักงานส่งคำร้องขอทำโอที พนักงานสามารถส่งคำร้องได้แต่ไม่เกินจำนวนโอทีสูงสุด (Max OT Hours) ที่กำหนดไว้ในตารางกะ แต่เมื่อมีการอนุมัติคำร้อง คำร้องดังกล่าวจะไม่แสดงในตารางเวลาแต่จะไปแสดงในรายละเอียดเงินเดือนเมื่อมีการทำเงินเดือนแทน เช่น จากตัวอย่างข้างต้น พนักงานส่งคำร้องขอทำโอทีดังนี้



เมื่อมีการ approve timesheet เพื่อทำเงินเดือน ในรายละเอียดเงินเดือนจะแสดงจำนวนโอทีเท่ากับจำนวนโอทีใน Timesheet + จำนวนโอทีใน Request รวมกัน 





2) กรณีที่เปิดใช้งาน OT Request ในตารางกะ 


หากมีการลงชื่ออกจากงานหลังเวลาเลิกงานปกติ ระบบจะแสดงเป็น จำนวนชั่วโมงเกินเวลาทำงานปกติ (Extra Hours) 

เมื่อมีการส่งคำร้องขอทำโอทีและคำร้องได้รับอนุมัติ ระบบจะเปลี่ยนจาก จำนวนชั่วโมงเกินเวลาทำงานปกติ เป็น จำนวนชั่วโมงโอที ทั้งนี้ขึ้นกับ 


- จำนวนที่ขอโอที (OT Hours)

หักเวลาพักระหว่างทำโอที (Deduct OT Break)
- จำนวนชั่วโมงโอทีต่ำสุด (Min OT Hours) 
- จำนวนชั่วโมงโอทีสูงสุด (Max OT hours)


ตัวอย่าง

ตารางกะ Flexible Shift 1



ตารางเวลา (Timesheet)

จะแสดงเป็น Regular Hour = 9 ชั่วโมง (08:00 - 17:00)

และแสดงเป็น Extra Hour = 4.5 ชั่วโมง (17:30 - 22:00) โดยหัก OT Break = 0.5 ชั่วโมง



พนักงานส่งคำร้องขอทำโอทีและคำร้องได้รับอนุมัติ


 

โหลดตารางเวลา (Timesheet) ใหม่

เปลี่ยน Extra Hour เป็น OT 1.5 = 4.5 ชั่วโมง (17:30 - 22:00) แทน